แผลคีลอยด์คืออะไร รักษาได้ยังไงบ้าง?

แผลคีลอยด์

แผลคีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป็นที่มีลักษณะนูนและขยายวงกว้างจนมีขนาดใหญ่กว่าบาดแผลที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดจากกลไกการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อสมานแผลตามธรรมชาติ แผลคีลอยด์จะเกิดหลังจากบาดแผลนั้นหายสนิทแล้วโดยอาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลังจากแผลหายดีแล้วสักพักก็ได้ แผลเป็นคีลอยด์ไม่ใช่ภาวะที่เป็นอันตรายแต่ก็อาจทำให้รู้สึกคัน ระคายเคือง หรือเจ็บได้บ้างรวมถึงแผลเป็นอาจขยายใหญ่และนูนขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลต่อความสวยงามและความมั่นใจของคนป่วยได้

อาการของแผลคีลอยด์ 

แผลคีลอยด์จะมีลักษณะบวมนูนและขยายใหญ่กว่าขนาดของบาดแผลเดิมโดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์จนถึงหลายเดือนจึงจะมีขนาดใหญ่เต็มที่ซึ่งอาการที่เด่นชัดของแผลเป็นคีลอยด์ที่เราจะสังเกตได้ ได้แก่

แม้แผลเป็นคีลอยด์จะไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรงหรือเป็นอันตรายแต่ถ้าเกิดขึ้นในบริเวณที่มองเห็นชัด เช่น แก้ม จมูก หรือหูก็อาจส่งผลในเรื่องความสวยงาม หรือหากเกิดในร่มผ้าก็อาจทำให้รู้สึกคันระคายเคืองเวลาที่สวมใส่เสื้อผ้า หรือรู้สึกตึงจนเคลื่อนไหวลำบากได้

แผลคีลอยด์ เกิดจากอะไร?

แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากกระบวนการรักษาบาดแผลตามธรรมชาติ เมื่อผิวหนังเกิดบาดแผลขึ้นร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและคอลลาเจนขึ้นมาใหม่เพื่อปิดปากแผลและซ่อมแซมผิวหนังที่เสียหายและเมื่อแผลหายสนิทแล้วร่างกายก็จะหยุดกระบวนการดังกล่าว แผลเป็นจึงค่อยๆยุบและจางลงไปเอง แต่ในกรณีที่ร่างกายมีการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและคอลลาเจนมากเกินกว่าปกติก็อาจทำให้เกิดแผลเป็นนูนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและขยายขอบเขตไปเรื่อยๆ ได้

แผลคีลอยด์มีโอกาสเกิดขึ้นได้หลังการเกิดบาดแผลใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแผลจากสิว แผลจากของมีคมบาด แผลเป็นอีสุกอีใส แผลไฟไหม้แผลจากการผ่าตัดหรือศัลยกรรม หรือแม้แต่แผลจากการเจาะ สัก และฉีดยา ซึ่งแผลคีลอยด์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและมีโอกาสพบได้ราวๆ 10%

แผลเป็นคีลอยด์มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและเกิดในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ซึ่งเชื่อว่าพันธุกรรมน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งคนที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นคีลอยด์ จึงมีความเสี่ยงจะเกิดแผลเป็นชนิดนี้ได้มากกว่าคนอื่นๆด้วย

แผลคีลอยด์ รักษายังไง?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาคีลอยด์ที่ได้ผล100% มีเพียงวิธีการลดความรุนแรงและป้องกันไม่ให้แผลเป็นมีขนาดใหญ่กว่าเดิมรวมถึงช่วยให้สภาพของแผลเป็นดูดีขึ้นและส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยน้อยที่สุดซึ่งวิธีการรักษาที่นิยมใช้กัน ได้แก่

1)       ใช้แผ่นแปะแผลคีลอยด์ แผ่นแปะดังกล่าวมักมาในรูปแบบเจลหรือซิลิโคนซึ่งใช้แปะบนแผลเป็นทุกวันต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน โดยแรงกดและการป้องกันไม่ให้แผลเป็นสัมผัสอากาศรวมถึงตัวยาในแผ่นแปะจะช่วยให้แผลคีลอยด์ยุบลงได้ในระดับหนึ่ง

2)       ใช้ยาทารักษาแผลเป็น ยาทาสำหรับแผลเป็นคีลอยด์มีทั้งรูปแบบเจลและครีม ซึ่งส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของเรตินอยด์วิตามิน A C และ E ซึ่งจะช่วยลดการบวมอักเสบและช่วยให้แผลเป็นนูนอ่อนนุ่มและยุบลงได้ แต่การทายานั้นเห็นผลค่อนข้างช้าและไม่สามารถรักษาแผลคีลอยด์ที่มีขนาดใหญ่มากๆ ได้

3)       การฉีดแผลคีลอยด์ โดยตัวยาที่แพทย์มักใช้ฉีด ได้แก่ คอร์ติโซนสเตียรอยด์ อินเทอร์เฟอรอนหรือยาต้านมะเร็งบางชนิด ซึ่งจะช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการเจ็บระคายเคืองและช่วยให้แผลเป็นเล็กลง โดยอาจต้องทำการฉีดหลายครั้งหรือรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆด้วย จึงจะเห็นผลอย่างชัดเจน

4)       การเลเซอร์แพทย์จะใช้เลเซอร์ที่อ่อนโยนต่อผิวเพื่อลดการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและทำให้แผลคีลอยด์มีขนาดเล็กลงและอักเสบน้อยลงโดยการรักษาด้วยเลเซอร์เป็นวิธีที่ค่อนข้างได้ผลแต่จำเป็นต้องทำซ้ำหลายครั้งและมีราคาสูง

5)       การผ่าตัด วิธีนี้เหมาะจะใช้รักษาแผลเป็นคีลอยด์ที่มีขนาดใหญ่และนูนขึ้นเรื่อยๆซึ่งแพทย์จะทำการตัดก้อนผิวหนังบริเวณนั้นออก อย่างไรก็ตามการผ่าตัดมีความเสี่ยงเพราะอาจทำให้เกิดแผลคีลอยด์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมจึงอาจต้องรักษาร่วมกับวิธีอื่นๆ เช่น การใช้แผ่นแปะ การฉีดยาสเตียรอยด์หรือการเลเซอร์ เป็นต้น

6)       การรักษาด้วยความเย็น เป็นการใช้ไนโตรเจนเหลวที่มีความเย็นจัดเพื่อทำให้แผลคีลอยด์เรียบลงและไม่บวมนูนมากไปกว่าเดิม ซึ่งเหมาะกับแผลเป็นขนาดเล็กที่ยังไม่ขยายขนาดเต็มที่

stratacel 10g

Stratacel - รักษาแผลเป็นจากการเลเซอร์

👉🏻
ทำหน้าที่เป็นฟิล์มบางๆ เคลือบผิว แต่ทำให้อากาศไหลผ่านได้ รวมทั้งป้องกันน้ำและสิ่งสกปรก หรือ สารเคมี เข้าสู่ชั้นบนของผิว (Semi-Occlusive)
👉🏻
เป็น Bacteriostatic และเป็นสาร Inert ช่วยป้องกันแบคทีเรียไม่ให้เติบโต แบ่งตัว และ ไม่ทำให้ผิวระคายเคืองหรือทำปฏิกิริยากับแผลเพราะไม่มีค่า pH
👉🏻
ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของแผล ป้องกันไม่ให้แผลแห้งเกินไป แผลขาดน้ำ ช่วยลดการเกิด TEWL หรือ Trans-Epidermal-Water-Loss บริเวณที่บอบบาง หรือ แผลหลังการทำกลุ่มเลเซอร์ ซึ่งมีปัญหาผิวขาดน้ำมากที่สุด Stratacel จึงคิดค้นมาเพื่อแผลกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

แผลคีลอยด์ พบได้ที่ไหนบ้าง?

แผลคีลอยด์พบได้บนผิวหนังทุกส่วนทั่วร่างกายโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง หัวไหล่ หน้าท้อง แขน และขาซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดบาดแผลได้บ่อยๆ

แผลคีลอยด์หลังการศัลยกรรมและเสริมความงาม

แผลคีลอยด์

การเกิดแผลคีลอยด์หลังผ่าตัดศัลยกรรมและเสริมความงามนั้นแม้จะพบได้ไม่บ่อยนักแต่ก็เป็นภาวะแทรกซ้อนที่หลีกเลี่ยงได้ยากและบ่อยครั้งก็ไม่ได้เกิดจากกรรมวิธีการผ่าตัดหรือความผิดพลาดของแพทย์ โดยปัญหาแผลคีลอยด์หลังการศัลยกรรมที่มีโอกาสพบได้ได้แก่

   -  แผลคีลอยด์หลังทำตาสองชั้น โดยปกติผิวหนังบริเวณเปลือกตามักเกิดแผลเป็นนูนขนาดใหญ่ได้น้อยมากแต่ในคนไข้บางคนก็อาจพบแผลคีลอยด์บริเวณรอยผ่าหรือรอยกรีดที่เปลือกตาได้เช่นกันซึ่งหากแผลเป็นนั้นเห็นชัดเจนและส่งผลต่อการมองเห็น ก็อาจต้องทำการรักษาต่อไป

   -  แผลคีลอยด์หลังทำจมูก การผ่าตัดเสริมจมูกอาจทำให้เกิดแผลคีลอยด์ได้โดยเฉพาะหากใช้วิธีผ่าตัดเปิด (ผ่าแบบOpen) หรือแผลผ่ามีการอักเสบ ติดเชื้อซึ่งจะยิ่งทำให้แผลเป็นมีขนาดใหญ่ วิธีป้องกันที่ช่วยได้คือการดูแลแผลหลังผ่าตัดให้ดีระวังไม่ให้แผลโดนน้ำหรือสกปรก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นนูนได้

   -  แผลคีลอยด์หลังตัดปีกจมูก การตัดปีกจมูกส่วนใหญ่จะต้องกรีดเปิดผิวหนังจากภายนอกจึงมีโอกาสเกิดแผลคีลอยด์ได้เช่นกันใครที่มีประวัติเคยเป็นคีลอยด์มาก่อนจึงควรปรึกษาแพทย์ล่วงหน้า และการดูแลแผลหลังผ่าตัดให้สะอาดก็อาจช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นขนาดใหญ่ได้

   -  แผลคีลอยด์ที่หูแผลเป็นคีลอยด์ที่ใบหูอาจเกิดขึ้นหลังการเจาะหรือระเบิดหูซึ่งหากมีขนาดเล็กก็สามารถทายาหรือฉีดยาเพื่อให้แผลเป็นยุบลงได้แต่หากแผลเป็นมีขนาดใหญ่ก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

สรุป

แผลคีลอยด์นั้นสามารถเริ่มรักษาได้แม้หลังจากเกิดแผลเป็นมานานหลายปีแล้วซึ่งการรักษาแต่ละวิธีจะให้ผลที่แตกต่างกันไปใครที่มีปัญหาแผลเป็นคีลอยด์ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพอาการของตัวเองได้

ติดต่อเรา

เลือกสินค้าไม่ถูก ?

แอด LINE เพื่อสั่งซื้อสินค้า หรือ สอบถามเพิ่มเติม
LINE logo
ติดต่อเรา